วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568

สุขภาพที่ดีครอบคลุม 4 ด้าน

 1. สุขภาพกาย (Physical Health)

หมายถึง สภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย หรือมีความสามารถในการฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้ดี


องค์ประกอบของสุขภาพกาย


โภชนาการที่ดี – กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ น้ำตาล และโซเดียมสูง


การออกกำลังกายสม่ำเสมอ – ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ โยคะ


การพักผ่อนเพียงพอ – ควรนอนอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อคืน


การดูแลสุขอนามัย – ล้างมือบ่อย ๆ แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น


การตรวจสุขภาพประจำปี – ตรวจร่างกายสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรค


ตัวอย่างการดูแลสุขภาพกาย: ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว, กินผักผลไม้ให้มากขึ้น, เดินหรือขยับร่างกายทุกวัน


2. สุขภาพจิต (Mental Health)

หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ จัดการกับความเครียด และมีมุมมองที่ดีต่อชีวิต


องค์ประกอบของสุขภาพจิต


การจัดการอารมณ์ – เข้าใจอารมณ์ของตัวเองและรู้จักวิธีรับมือกับความเครียด เช่น ฝึกสมาธิหรือทำกิจกรรมที่ชอบ


ความมั่นใจในตนเอง – มีทัศนคติที่ดีต่อร่างกาย ความสามารถ และคุณค่าของตัวเอง


การมีจุดมุ่งหมาย – ตั้งเป้าหมายในชีวิต ทำให้รู้สึกมีความหมายและแรงจูงใจ


การขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น – ไม่กลัวที่จะพูดคุยหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาหรือคนที่ไว้ใจ


ตัวอย่างการดูแลสุขภาพจิต: ฝึกหายใจลึก ๆ เมื่อเครียด, ทำสมาธิวันละ 5-10 นาที, หลีกเลี่ยงสื่อที่ทำให้เกิดความเครียด


3. สุขภาพสังคม (Social Health)

หมายถึง ความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น รวมถึงความสามารถในการสื่อสารและปรับตัวเข้ากับสังคม


องค์ประกอบของสุขภาพสังคม


ความสัมพันธ์ที่ดี – มีเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบตัวที่สามารถให้การสนับสนุน


การสื่อสารที่ดี – สามารถพูด ฟัง และเข้าใจผู้อื่นได้ดี


การปรับตัวเข้ากับสังคม – สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้แม้จะมีความแตกต่างกัน


การช่วยเหลือผู้อื่น – มีจิตสาธารณะและรู้จักแบ่งปัน เช่น การทำจิตอาสาหรือช่วยเหลือเพื่อนในยามลำบาก


ตัวอย่างการดูแลสุขภาพสังคม: โทรหาเพื่อนเก่าบ้าง, ร่วมกิจกรรมกลุ่มที่สนใจ, หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ


4. สุขภาพจิตวิญญาณ (Spiritual Health)

หมายถึง การมีเป้าหมาย ความเชื่อมั่นในคุณค่าของชีวิต และการรู้จักตัวเองในระดับลึก


องค์ประกอบของสุขภาพจิตวิญญาณ


การรู้จักตัวเอง – เข้าใจความต้องการ เป้าหมาย และคุณค่าในชีวิต


ความศรัทธาหรือจิตวิญญาณ – อาจเกี่ยวข้องกับศาสนา ปรัชญาชีวิต หรือแนวคิดเรื่องความหมายของชีวิต


การใช้ชีวิตอย่างมีสติ – รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความหมายและตระหนักถึงปัจจุบัน


การให้คุณค่ากับสิ่งที่ทำ – ทำสิ่งที่รักและมีความสุขกับสิ่งนั้น


ตัวอย่างการดูแลสุขภาพจิตวิญญาณ: ฝึกสติ, อ่านหนังสือพัฒนาตนเอง, ปฏิบัติธรรม, ออกเดินทางค้นหาตัวเอง


วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้าวสีนิล ข้าวก่ำ อาหารต้านมะเร็ง

กินเพื่ออยู่กับอาหารเพื่อสุขภาพ


อาหารการกินยุคปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายชนิด
ซึ่งหากย้อนกับไปในยุคอดีตความพิถีพิถันเรื่องการกินเหมือนสมัยนี้ไม่ค่อยมี  แต่สุขภาพของผู้คนในอดีตดูจะดีกว่าคนในยุคสมัยแห่งความบริบูรณ์ด้านอาหาร  เพราะอาหารที่รับประทานในทุกวันเต็มไปด้วยสารเคมี  เต็มไปด้วยสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ
อาหารพื้นฐาน เช่น  ข้าวก็เหมือนกัน  สมัยก่อนารสีข้าวใช้การซ้อมมือ  ด้วยการตำเพื่อแยกเมล็ดข้าวกับเปลือก ทำให้ข้าวที่ได้มีสีข้าวขุน  นานวันเข้าเทคโนโลยีการสีข้าวทันสมัยทำให้ข้าวที่สีข้าวใสน่ากิน  ข้าวที่มีสีขุนได้รับความนิยมน้อยลง  แต่คุณค่าทางอาหารน้อยลงตามไปด้วย

ยุคที่ข้อมูลข่าวสารเต็มไปหมดคนเริ่มใส่ใจสุขภาพ  จึงมีคนบางกลุ่มกลับมานิยมรับประทานข้าวซ้อมมือ  ข้าวสีต่าง ๆ  มากขึ้น  โดยเฉพาะข้าวที่มีสีม่วง  ดำ อย่างเช่น  ข้าวสีนิลหรือข้าวก่ำ  เนื่องจากสารสีม่วงที่มีในข้าวชนิดนี้ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง  ข้าวชริดนี้จึงมีประโยชน์มาก  ความที่สีไม่สวยดำ ๆ  แต่มากไว้ด้วยประโยชน์จึงฟื้นคืนชีพครองใจคนรักสุขภาพอีกครั้ง  เพราะเธอคือข้าวก่ำอันแสนน่ากิน

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ทุเรียน : ผลไม้ไทย รับประทานอย่างไรให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ทุเรียน : ผลไม้ไทย รับประทานอย่างไรให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ





ทุเรียน  ผลไม้สุดแสนอร่อยของไทย
ได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งผลไม้ไทย
หลาย ๆ คนชอบทุเรียน  แต่หลายคนก็ไม่ค่อยชอบเพราะกลิ่นทุเรียนที่หอมฉุนเตะจมูก
ทุเรียนมีประโยชน์ไม่น้อยเลยที่เดียว  เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีเส้นใยอาหารและธาตุเหล็กสูง สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้  มีประโยชน์ต่อร่างกาย
แถมทุเรียนยังสามารถนำมาประกอบเป็นขนมไทยแสนอร่อยได้หลายเมนู
ที่ชอบสุด ๆ ก็คงจะเป็น  ข้าวเหนียวมูลทุเรียน  อร่อยสุด ๆ หวานหอม

สำหรับทุเรียนแล้วนับว่ามีประโยชน์ไม่น้อยเลยที่เดียว  แต่ก็มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ควรงดเว้นการรับประทานทุเรียนอยู่เหมือนกัน

ข้อห้ามที่ควรงดเว้นสำหรับการรับประทานทุเรียน
คือ  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน   โรคอ้วน   โรคไต  ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียน หรือหากจะรับประทานควรรับประทานแบบจำกัดปริมาณ  และผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรงดเว้นโดยเด็ดขาดมิฉะนั้นอาจถึงตายได้  เนื่องจากทุเรียนมีสารกำมะถันอยู่มาก สามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์  ถ้ารับประทานทุเรียนคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  จะทำให้แอลกอฮอล์ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น  อาจเกิดอาการผิดปกติต่อระบบหายใจ


ผู้เขียน 
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน

11/09/2556

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส้มป่อย


ชื่อ

ส้มป่อย, ส้มคอน, ส้มใบ

ถิ่นกำเนิด

--

ลักษณะ

ไม้เถา

ลำต้น มีสีน้ำตาลอมแดง มีหนามขนาดเล็กรอบ ๆ ลำต้น

ใบ มีลักษณะสีเขียว 1 ก้านมีเล็กหลายคู่

ดอก มีรูปทรงกลมพู่ คล้ายดอกกระถิ่น

ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร
ยอดของส้มป่อยมีรสชาติเปรี้ยว

ประโยชน์และสรรพคุณ
ส้มป่อย สรรพคุณทางยาขับเสมหะ มีรสเปรี้ยว ใช้ต้มอาบช่วยขับน้ำคาวปลา ร่างกายสดชื่น

สรรคุณทางความเชื่อ
เป็นต้นไม้ศักดิ์ ใช้เสกน้ำมนต์อบ รักษาโรคได้สารพัด ด้วยการเป่ามนต์คาถา
ส้มป่อยเป็นไม้มงคล คนไทยภาคเหนือนิยมนำมาประกอบในเครื่องรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่และงานประเพณีต่าง ๆ

การปลูกและการดูแล
ส้มป่อยเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่าย เจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติ

การปลูกจึงควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง

การให้ปุ๋ยควรให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

การขยายพันธุ์

การแยกต้นกล้า และการเพาะเมล็ด

ต้นยอ


ชื่อ

ต้นยอ, บะต๋าเสือ, ต้นตาเสือ, ,ยอบ้าน

ถิ่นกำเนิด

--

ลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง

ลำต้น มีลักษณะสีน้ำตาล ทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 1 – 2 เมตร

ใบ มีสีเขียวมัน รูปทรงกลมรี ความยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร

ผลมีสีเขียว ผลแก่จัดสีเหลืองนวลกลิ่นฉุน

ประโยชน์และสรรพคุณ
ช่วยให้เจริญหาอาหาร
ขับลม บำรุงธาตุ
เนื่องจากใบมีรสขม นิยมนำมารองในห่อนึ่ง หรือคนภาคกลางเรียกห่อหมก
ทำให้รสชาติดีขึ้นและอร่อย ด้วยรสขมเล็กน้อย
ผลสุกจิ้มเกลือรับประทาน ช่วยเจริญอาหาร


การปลูกและการดูแล
ต้นยอ นิยมปลูกตามบ้านเรือน เนื่องจากเป็นพื้นสมุนไพรพื้นบ้านที่นำมาประกอบอาหารได้อร่อย เช่นหอหมกเป็นต้น
การดูแลรักษาจึงควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง
บำรุงต้นด้วยปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด

การขยายพันธุ์

สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ดและการทาบกิ่ง

ไผ่เงินแคระ


ชื่อ

ไผ่เงิน, ไผ่เงินแคะ

ถิ่นกำเนิด

--

ลักษณะ
ต้น มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม

ใบ มีลักษณะเรียวยาว สีเขียวสลับขาว

ดอก มีลักษณะเป็นขนยาวประมาณ 7 เซนติเมตร


การปลูกต้นไผ่เงิน
ปลูกง่ายดูแลง่าย เนื่องจากไผ่เงินเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี
สามารถปลูกได้ทั้งในกระถ่าง และปลูกลงดิน
สำหรับการปลูกในกระถ่าง การรดน้ำควรรดน้ำสม่ำเสมอ
สำหรับปลูกลงดิน ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก อาจจะต้องดูแลในระยะแรก ๆ เป็นประจำ
แต่พอลำต้นแข็งแรง จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีเอง
ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยบำรุงใบ(แนะนำน่าจะใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกจะเหมาะสมกว่า)

การขยายพันธุ์
ไผ่เงินแคระ ขยายพันธุ์โดยวิธีแยกหน่อ
ปลูกง่ายมาก แยกแล้วนำไปเพาะชำให้ต้นแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถนำไปลงดิน หรือใส่กระถางได้


ประโยชน์ของไผ่เงิน
ตามหลักการเสริมสิริมงคลภายในบ้าน
ต้นไผ่เป็นไม้มงคลสำหรับเสริมเรื่องอายุ ตามทัศนคติของชาวจีน
ตามทัศนคติของชาวไทย ต้นไผ่เป็นไม้มงคล ทำให้ร่มเย็น มีความสามัคคีภายในบ้าน
และไผ่เงิน ยังเสริมมงคลด้านโชคลาภอีกด้วย